วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

รู้จัก 3 จีเทคโนโลยีคลื่นลูกที่สาม

ห้วงเวลานี้หลายคนคงคุ้นหู้กับ เทคโนโลยี 3G หรือ (Third Generation) หรือเรียกกันสั้นๆ ง่ายๆ ว่า "3จี"

ไม่ว่าจะเป็นโอเปอร์เรเตอร์ ผู้ให้บริการเบอร์หนึ่งของเมืองไทยอย่าง บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องลูกข่าย หลากหลายแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นโนเกีย, พานาโซนิค ,ซีเมนต์, ซัมซุง ล้วนแล้วแต่ออกมาบอกว่าพร้อมแล้วกับการเข้าร่วมแจมในเทคโนโลยี 3 จี

แล้วเทคโนโลยีที่ว่ามันมีหน้าตาและรูปแบบการให้บริการอย่างไร ???

เทคโนโลยีสื่อไร้สายในยุคที่ 3 หรือ 3 จี นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และเทคโนโลยี ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น พีดีเอ –โทรศัพท์มือถือ- กล้องถ่ายรูปและอินเตอร์เน็ต ทั้งยังจะมีการส่งผ่านข้อมูลมัลติมีเดียความเร็วสูง ซึ่งได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจากยุคเจเนอเรชั่นที่ 2 และ 2.5 ซึ่งจะมีเพียงบริการระบบเสียงและการส่งผ่านข้อมูลเท่านั้น

แต่ 3 จีก้าวล้ำไปมากกว่ามีการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีภาพ และ เสียงเข้ากันอย่างลงตัว สำคัญคือการส่งผ่านข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็วกว่าการส่งผ่านข้อมูลอินเตอร์เนตได้หลายสิบเท่า

เทคโนโลยี 3 จี สามารถรับส่งข้อมูลที่ 384 กิโลบิตต่อวินาที สามารถรองรับการสื่อสารด้วยอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลแบบเรียลไทม์ ซึ่งหมายถึงว่าผู้ใช้จะสามารถที่ผู้ใช้มือถือจะท่องอินเทอร์เน็ต และคุยโทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน

ไม่เท่านั้นยังจะใช้บริการสื่อสารเสียงและภาพเคลื่อนไหว บริการกระจายภาพและเสียงไปยังหลายจุด อุปกรณ์ปลายทางหลากหลายขึ้น
แม้เทคโนโลยีดังกล่าวจะยังมาไม่ถึงแต่เทคโนโลยี 3 จีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่กำลังจะอวดโฉมสู่คนไทยในเร็วๆ นี้เหมือนที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นญีปุ่น เกาหลีได้สัมผัสกับเทคโนโลยีชั้นสูงที่ว่ามาแล้ว

และผู้ให้บริการในสองประเทศหลักคือ เอ็นทีที โดโคโม และ เคดีดีไอ ของญี่ปุ่น , เอสเค เทเลคอม และ เกาหลี เทเลคอม ,เคทีเอฟในเกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับเทคโนโลยี 3 จี ประสบความสำเร็จอย่างมาก

ถ้านึกไม่ออกว่ารูปแบบเครือข่ายหรือรูปแบบการให้บริการจะออกมาในรูปแบบหน้าตาแบบไหน ให้ลองเทียบเคียงอย่างนี้
บ้านอิเลคทรอนิคส์ซึ่งควบคุมทุกอย่างไว้ด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว ไม่ว่าจะเป็น แอร์คอนนิชั่น การเปิดปิดประตู ทีวี ตู้เย็น การให้อาหารสัตว์เลี้ยง
หรืออุปกรณ์ไฮเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้อย่างโทรศัพท์มือถือดีไซน์แปลกใหม่รูปทรงแปลกออกไปจากมือถือ รูปแบบเดิม แต่จะเป็นดีไซน์แปลกใหม่ อาจผูกไว้ที่ข้อมือ หรือ แขวนไว้ที่คอ เป็นแฟชั่นเท่เก๋ไก๋ ไปอีกรูปแบบหนึ่ง

และด้วยความที่เทคโนโลยี 3 จีมีความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูลชั้นยอดจะทำให้เจ้าของบ้านไฮเทค สามารถเห็นความเคลื่อนไหวทุกอย่างในบ้าน
ดูว่าเจ้าตูบสัตว์เลี้ยงตัวโปรด กินอาหารที่ใส่ไว้ให้หรือยัง หรือ แม้แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองก็สามารถจะมองเห็นกิจกรรมในโรงเรียนของบุตรชายหญิงได้ อย่างปัจจุบันทันด่วน หรือ เรียลไทม์มายังจอแอลซีดีที่ถูกส่งผ่านคลื่นความถี่จากโทรศัพท์มือถือที่ติดอยู่กับข้อมือของลูกมาที่บ้าน

สำคัญคือสามารถพูดคุยติดต่อสื่อสารแบบสองทาง ได้ในเวลาทันท่วงทีด้วย หรือ เอสเอ็มเอสอาจไม่จำเป็นต้องกดส่งจากมือถือก็ได้แต่จะใช้ปากกาดิจิตอลแทนซึ่งปากกา ดิจิตอลจะสามารถกดส่งทุกอย่างไม่ว่าจะะเป็นอีเมล์ หรือข้อมูลด้านการสื่อสารที่จำเป็นอื่นๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไปคือ มือถือประเภทที่มีกล้องถ่ายรูปในตัวหรือเมกะพิกเซล คาเมรา จะมียอดขายกระฉูดถล่มทลาย มากกว่าบริษัทที่ผลิตกล้องดิจิตอลเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเพราะเมกกะ พิกเซล นั้นจะต้องใช้เทคโนโลยีของ 3 จีในการส่งผ่านข้อมูล

มือถือรุ่นใหม่ของโนเกียที่สามารถนำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นวิทยุ ทีวี มาใว้ในโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียว จะนำมาจำหน่ายอย่างเป็นทางการในช่วงไตมาสที่ 3 และช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

นั่นคือตัวอย่างเล็กๆ น้อยของเทคโนโลยี 3 จีซึ่งกำลังจะมีให้เห็นในอนาคตอันใกล้อีกไม่นาน

กล่าวสำหรับเมืองไทยคนส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีชั้น สูงเป้าหมายสำคัญในการใช้มือถือส่วนใหญ่จะทำเพื่อโทรติดต่อหรือรับสาย โทรเข้าโทรออกเสียเป็นส่วนใหญ่ เห็นได้จากการใช้เทคโนโลยีประเภท WAP หรือ Wireless Application Protocal ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเรียกดูเว็บเพจ สำหรับอ่านได้ในมือถือ โดยใช้ภาษา WML มีผู้ใช้เพียง 5% เท่านั้น

แต่นั้นเป็นเรื่องของพื้นฐานของคนไทยโดยรวมที่การเข้าถึงเทคโนโลยียังมีอยู่น้อย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของกระทรวงเทคโนโลยี และสารสนเทศหรือไอซีที ต้องพยายามให้คนไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ต่อไป

สิ่งที่สำคัญคือไทยกำลังจะขยับเข้าสู่ยุค 3 จีเทคโนโลยีคลื่นลูกที่สาม เพิ่มขึ้นทุกทีรู้จักและรู้ไว้ก็ดีว่าเทคโนโลยี 3 จีคืออะไร เมื่อรู้แล้วจะได้คิดและใช้เทคโนโลยีอย่างมีประโยชน์สูงสุดสำคัญคือ อย่าไปวิ่งตามเทคโนโลยี แต่ให้ถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าใช้เทคโนโลยีเพื่อจุดประสงค์อะไรเพื่อจะไม่ให้เปลืองเงินกับเทคโนโลยีชั้นสูงโดยใช่เหตุ

ที่มา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วันที่ 7 มกราคม 2551

ไม่มีความคิดเห็น: